พาเที่ยวชุมชน ระยอง ต้องลอง – ต้องมา

วันที่เขียน 11/02/2019
ยอดเข้าชม

143

พาเที่ยวชุมชน ระยอง ต้องลอง – ต้องมา

วันที่เขียน

11/02/2019

ยอดเข้าชม

143

เขียนโดย น า ย บ้ า เ ที่ ย ว

บล็อกเกอร์สายเที่ยว โดยมีคติการเที่ยวแบบง่ายๆ ว่า “เที่ยวทุกที่...ที่คุณอยากไป”

น า ย บ้ า เ ที่ ย ว พาเที่ยวชุมชน ระยอง - ต้องลอง OTOP นวัตวิถี

OTOP นวัตวิถี คือ การสร้างชุมชนแห่งการท่องเที่ยว เพื่อทำให้เกิดกระแสการท่องเที่ยวในชุมชนในแต่ละจังหวัด ทำให้มีรายได้หมุนเวียนกระจายไปสู่ชุมชนของจังหวัดนั้นๆ โดยเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP ให้สามารถยกระดับสู่การจำหน่ายในชุมชนได้ ทำให้สามารถดึงนักท่องเที่ยวเข้ามาในชุมชนของจังหวัดนั้นๆ เพิ่มมากขึ้น ซึ่งหลักการสำคัญของการพัฒนาในด้านนี้  ได้แก่  การดึงเสนอเสน่ห์ชุมชน  ค้นหาเอกลักษณ์ของชุมชน เพื่อนำเสนอสู่นักท่องเที่ยว และค้นหาภูมิปัญญาท้องถิ่นมาผสมผสานทำให้เกิดประโยชน์และคุณค่า เพื่อนำไปสู่การมีมูลค่าในเชิงเศรษฐกิจด้วยอีกทางหนึ่ง

สำหรับเป้าหมายการดำเนินโครงการนั้นจะมุ่งเน้นให้มีสร้างตลาดที่ชุมชน เพื่อดึงนักท่องเที่ยวเข้าหมู่บ้าน และพัฒนาศักยภาพของผลิตภัณฑ์ OTOP  ให้พร้อมขายและสร้างรายได้เพิ่มขึ้น และการพัฒนาชุมชนหมู่บ้านท่องเที่ยวให้มีการหมุนเวียนและกระจายตัวของรายได้เพิ่มขึ้น   

  สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทางเพจ : ระยอง ชุมชนท่องเที่ยว

น า ย บ้ า เ ที่ ย ว ได้มีโอกาสได้รับเชิญจากสานักพัฒนาชุมชน จ.ตราด ซึ่งได้จัด “โครงการเที่ยวชุมชนระยอง ต้องลอง ต้องมา OTOP นวัตวิถี ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยว 3 เส้นทาง ภายใต้โครงการไทยนิยมยั่งยืน สร้างรอยยิ้มคืนความสุขเพื่อคนไทย ส่งเสริมการตลาดชุมชนท่องเที่ยวให้เห็นถึงความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวม นำเสนอความโดดเด่นควบคู่ไปกับภูมิปัญญาของหมู่บ้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น อาทิเช่น ขนมท้องถิ่น, เครื่องจักรสาน, น้ำพริก และผลไม้แปรรูปต่างๆ เป็นต้น และยังรวมถึงการท่องเที่ยวเพื่อไปสัมผัสบรรยากาศชุมชนต่างๆ ใน จ.ระยอง นั้นเอง   

  เดินทางไปร่วมกิจกรรมการทำฝายกันที่หมู่บ้านมาบจันทร์ เพื่อไปดูและลองทำฝายชะลอน้ำ ยึดหลักพระราชดำรัสของในหลวง รัชกาลที่ 9 เรื่องการทำ “ฝายแม้ว” ที่ห้วยฮ่องไคร้ โดยใช้วัสดุตามธรรมชาติไปขวางกั้นร่องน้ำเล็ก ๆ บนเขา เพื่อชะลอการไหลของน้ำ ให้น้ำมีโอกาสซึมลงไปยังพื้น เหมือนดินเป็นฟองน้ำคอยซับน้ำ

ย้อนกลับไปสิบกว่าปีก่อน ณ บริเวณรอบ “เขายายดา” จังหวัดระยอง ยังเป็นพื้นที่แห้งแล้ง ยามแล้งไฟป่ามาเยือน เมื่อถึงคราวหน้าฝน แม้ฝนจะตกแต่ผืนดินก็ไม่สามารถกักเก็บน้ำไว้ได้ ทั้งยังเกิดดินถล่มจนเซาะหน้าดินแทบไม่เหลือ จากความทุกข์ยากทั้งของตนเองและลูกบ้าน ทำให้ผู้ใหญ่วันดี อินทรพรม ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 7 บ้านมาบจันทร์ จังหวัดระยอง คิดหาทางให้ป่ากลับมาสมบูรณ์อีกครั้ง

เยี่ยมชมสวนสละและแปรรูปผลไม้ คุณระเบียบ และสวนทุเรียนน้าจรูญ 

เดินทางมายัง หมู่บ้านธงหงส์ ต.กะเฉด อ.เมือง จ.ระยอง เยี่ยมชมสินค้า OTOP ของดีชุมชน และรับชมการสาธิต การบูรหอม , โมบายเปลือกหอย , จักรสานจากเส้นพลาสติก 

จากนั้นเดินทางมากันที่ วัดธงหงส์ เพื่อกราบไหว้หลวงพ่อทอง ซึ่งวัดธงหงษ์ อยู่บริเวณเนินเขา ในหมู่บ้านเสาธงหงส์ มีบรรยากาศร่มรื่น ปกคลุมด้วยต้นไม้ ครอบคลุมพื้นที่ 45 ไร่ ด้านหน้าติดทางถนนสายเอกระหว่างตำบล มีอาคารปฏิบัติธรรม สามารถรองรับผู้ปฏิบัติธรรมได้ 300 คน และลานปฏิบัติธรรมนอกอาคาร บริเวณเชิงเขา 1 จุด บนเนินเขา 1 จุด (สามารถเดินจงกรมได้) 

ในบริเวณหมู่บ้านจะมีภูเขาที่ตั้งตระหง่านอยู่นั่นก็คือ “เขาดินสอ” ที่มาของชื่อเขาดินสอมาจากการที่สมัยก่อนการร่ำเรียนตามศาลาวัดยังไม่มีดินสอที่ใช้สำหรับเขียน ชาวบ้านจึงใช้หินจากเขาดินสอมาเขียนบนกระดานชนวน เพื่อใช้ในการร่ำเรียนหนังสือ บนยอดเขาจะมีลานนั่งสมาธิสำหรับผู้ที่มาปฏิบัติธรรม และมีวิหารหลวงปู่ทอง หลวงปู่ที่สร้างวัดภายในหมู่บ้านแห่งนี้ และยังมีรอยพระพุทธบาทจำลองให้ได้มาสักการะบูชา จุดเด่นของเขาดินสอที่ขาดไม่ได้เลยคือการที่นักท่องเที่ยวได้มาเยือนที่เขาแห่งนี้แล้ว ต้องได้ลองหยิบหินของเขาดินสอมาลองเขียนซึ่งมีสีแตกต่างกันออกไปอย่างสวย 

วัดธงหงส์ ยังเป็นที่ประดิษฐานของอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสิน เนื่องจากพื้นที่วัดธงหงษ์ เป็นพื้นที่ในประวัติศาสตร์ และเป็นที่ชุมนุมทัพของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ระหว่างที่จะไปกอบกู้เอกราช ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจของชาวบ้านในหมู่บ้านเสาธงหงส์ และชาวจังหวัดระยอง ระยอง เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ได้กอบกู้เอกราชให้แก่ประเทศไทยจนทุกวันนี้ และให้คนรุ่นหลังได้มีโอกาสมาสักการะกราบไหว้   

เดินทางมาต่อกันที่ หมู่บ้านเนินฆ้อ ต.เนินฆ้อ อ.แกลง จ.ระยอง 

  ขนมขึ้นชื่อของหมู่บ้าน “ขนมนิ่มนวล” ขนมไทยโบราณที่หาได้ยากแล้วในสมัยนี้ เป็นขนมที่ทำมาจากข้าวเจ้าและข้าวเหนียวมาคั่วให้หอม รสชาติ หอมหวานนิ่มนวลสมชื่อ ชาวบ้านนิยมทพกันในงานบุญต่างๆ

ต่อมาเดินทางมากันต่อที่ หมู่บ้านเนินทราย ต.เนินฆ้อ อ.แกลง จ.ระยอง เยี่ยมชมสินค้า OTOP ของดีชุมชน และรับชมการสาธิต การทา ขนมกระยาสารท , ก๋วยเตี๋ยวผัดกุ้ง ณ ลานหน้าสะพานรักษ์แสม โดย กระยาสารท ถือว่าเป็นขมขึ้นชื่อของหมู่บ้าน มีส่วนผสมของมัน มะละกอ สัปปะรด ถั่วและงา ซึ่งชาวบ้านรวมตัวกันผลิตเพื่อจัดจำหน่ายภายในหมู่บ้านและพื้นที่ใกล้เคียง 

สถานที่ท่องเที่ยวที่โดดเด่นของหมู่บ้านเนินทรายคือ “สะพานรักษ์แสม” เป็นสะพานไม้เก่าแก่ เดิมทีเป็นเพียงสะพานไม้เล็กๆ ต่อมาได้มีการพัฒนาต่อยอดสร้างเป็นสะพานแขวนให้นักท่องเที่ยวได้มาเยี่ยมชม   

  ท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์รอบๆ ป่าโกงกางให้นักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมและศึกษาระบบนิเวศน์ได้ ความยาวประมาณ 1 กิโลเมตร สามารถเดินชมความงดงามของป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์ ดูปูแสม ในบรรยากาศธรรมชาติเงียบสงบ มีต้นโกงกาง รากโกงกาง ต้นเล็กต้นใหญ่ที่ดูไม่เป็นระเบียบ แตกแขนงระเกะระกะ แต่ดูดีๆ มันก็มีศิลปะ และที่สำคัญ ต้นเหล่านี้ มีคุณค่าทางระบบนิเวศมากๆ อีกทั้งช่วยป้องกันรักษาชายฝั่งทะเลจากการกัดเซาะของกระแสน้ำ เป็นที่เพาะพันธุ์วางไข่และฟักตัวอ่อนของสัตว์ต่างๆ มีจุดพักนั่งชมธรรมชาติ3จุด ด้วยระบบนิเวศน์ที่สมบูรณ์นี้จึงได้รับการขนานนามว่า “อเมซอนไทยแลนด์”

วันต่อมาเริ่มออกเดินทางไปที่แรกกันที่ หมู่บ้านมะเดื่อ ต.ชำฆ้อ อ.เขาชะเมา จ.ระยอง เป็นพื้นที่ติดป่าเขาและมีถ้ำเป็นจำนวนมาก สถานที่ท่องเที่ยวที่เด่นๆในหมู่บ้านแห่งนี้คือ “วัดถ้ำเขาโบสถ์” มีพระพุทธรูปปั้นมือสมัยอยุธยา มีภูเขาลักษณะแหมือนโบสถ์หลังใหญ่ที่เป็นภูเขาพิงกัน มี “ต้นไม้พระเจ้าห้าพระองค์” อยู่ในบริเวณนี้ด้วย เป็นต้นที่ได้ชื่อว่าเติบใหญ่อยู่คู่กับหมู่บ้านมาอย่างยาวนาน มีขนาด 12 คนโอบ   

นอกจากวัดถ้ำเขาโบสถ์แล้วยังมีอีกถ้ำที่ขึ้นชื่ออยู่ในหมู่บ้านแห่งนี้นั่นก็คือ “วัดถ้ำเขาลอย” เป็นถ้ำหินปูนติดๆกันหลายถ้ำ แต่ในส่วนที่ได้รับการสำรวจ และนักท่องเที่ยวสามารถเข้าถึงคือบริเวณถ้ำค้างคาว มีค้างคาวอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ส่วนที่สองคือถ้ำมังกรและถ้ำมังกรหลับ ลักษณะจะเป็นถ้ำมืด รวมถึงยังมีถ้ำเล็กๆ อีกหลายจุดในบริเวณนี้ด้วย 

เดินทางต่อมากันที่ หมู่บ้านเขาน้อย ต.เขาน้อย อ.ชะเมา จ.ระยอง เยี่ยมชมสินค้า OTOP ของดีชุมชน และรับชมการสาธิต การทำทองม้วนสด ณ บริเวณตลาดล้านนา 

ที่หมู่บ้านตะขบ ต.เขาน้อย อ.เขาชะเมา จ.ระยอง สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญๆ "พระมหาเจดีย์สีมหามงคล" ณ วัดถ้ำวัฒนมงคล ต.เขาน้อย มีพื้นที่จัดแสดงวัตถุโบราณและ "ลูกแก้วสารพัดนึก" นักท่องเที่ยวและชาวบ้านมักมาขอพรกับลูกแก้วนี้ เพราะเชื่อว่าจะได้ตามความปรารถนา รอบๆเจดีย์ชั้นบนจะประกอบได้ด้วยพระพุทธรูปที่มีความเก่าแก่ประดิษฐานอยู่และตรงกลางของชั้นบนจะมีเจดีย์หินอ่อนตั้งอยู่ ซึ่งที่วัดและในส่วนของเจดีย์แห่งนี้ เป็นพื้นที่ประวิติศาสตร์อีกที่หนึ่งของสมเด็จพระเจ้าตากสิน ทรงยกทัพมาพักก่อนจะไปตีเมืองจันทร์ หมู่บ้านนี้ค่อนข้างเป็นเขตโอโซน เนื่องจากไม่มีโรงงานอุตสาหกรรม 

วัดถ้ำวัฒนมงคล ภายในจะเป็นพื้นที่จัดแสดงวัตถุโบราณและ "ลูกแก้วสารพัดนึก" นักท่องเที่ยวและชาวบ้านมักมาขอพรกับลูกแก้วนี้ เพราะเชื่อว่าจะได้ตามความปรารถนา รอบๆ เจดีย์ชั้นบนจะประกอบได้ด้วยพระพุทธรูปที่มีความเก่าแก่ประดิษฐานอยู่และตรงกลางของชั้นบนจะมีเจดีย์หินอ่อนตั้งอยู่ ซึ่งที่วัดและในส่วนของเจดีย์แห่งนี้ เป็นพื้นที่ประวิติศาสตร์อีกที่หนึ่งของสมเด็จพระเจ้าตากสิน ทรงยกทัพมาพักก่อนจะไปตีเมืองจันทร์ หมู่บ้านนี้ค่อนข้างเป็นเขตโอโซน เนื่องจากไม่มีโรงงานอุตสาหกรรม 

  ลิ้มรสอาหารถิ่นจาก 3 หมู่บ้าน (บ้านมะเดื่อ บ้านเขาน้อย และบ้านตะขบ) ณ ฟ๊อกแลนด์ ซึ่งอาหารพื้นถิ่นที่ขึ้นชื่อ คือ แกงขนุน โดยใช้ขนุนพันธุ์ทองประเสิรฐเพราะให้เนื้อของขนุนค่อนข้างเยอะกว่าพันธุ์อื่นๆ ผสมผสานกับพริกแกงตำเองสูตรชาวบ้าน ต้มแกงกะทิให้เข้าที่กับไก่บ้าน ทำให้มีรสชาติที่รวมกันอย่างลงตัว   

จากนั้นเดินทางต่อมียัง หมู่บ้านคลองไผ่ ต.ชุมแสง อ.วังจันทร์ จ.ระยอง เยี่ยมชมสินค้า OTOP ของฝากที่ขึ้นชื่อของหมู่บ้านนี้คือ ชาดาวเรือง และชาใบขลู่ 

ตกเย็นเดินทางมายัง หมู่บ้านแก่งหวาย ต.ชุมแสง อ.วังจันทร์ จ.ระยอง เยี่ยมชมสินค้า OTOP ของดีชุมชน ณ โฮมสเตย์ไร่นายผล ซึ่งเป็นโฮมสเตย์ประจำหมู่บ้าน อยู่ติดริม อ่างเก็บน้ำประแสร์ นักท่องเที่ยวที่มาพักที่นี่นอกจากจะได้ชมทัศนียภาพที่สวยงามแล้ว ยังสามารถนั่งเรือสปีดโบ้ท เพื่อชมวิวอ่างเก็บน้ำประแสร์ 

อ่างเก็บน้ำประแสร์ ลุ่มน้ำประแสร์ เป็นลุ่มน้ำใหญ่ลุ่มน้ำหนึ่งในพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกมีขนาดพื้นที่ลุ่มน้ำมากกว่า 1,500 ตร.กม. มีต้นน้ำจากเทือกเขาในจังหวัดชลบุรีไหลผ่านอำเภอวังจันทร์ และไหลลงทะเลที่ปากน้ำประแสร์ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติที่เกษตรกรสามารถนำน้ำไปใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูก อุปโภค–บริโภค และเป็นแหล่งน้ำดิบสำรองเพื่อการอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การประปา นอกจากนี้ยังอำนวยประโยชน์ในด้านการบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่บริเวณลำน้ำประแสร์ ซึ่งเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงฤดูฝน 

ตกเย็นทานอาหารเย็นบนแพที่ทาง โฮมสเตย์ไร่นายผล ได้จัดเตรียมเอาไว้ให้ โดยอาหารพื้นถิ่นของที่นี่คือ หอยจ๊อ , ทอดมันปลากราย และกุ้งชุปแป้งทอด ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่ใช้หาได้จากภายในหมู่บ้าน ทั้งสด สะอาด ปลอดภัย และที่สำคัญ คือ อร่อยมากด้วยนะ 

พอค่ำๆ หน่อยชาวบ้านก็ให้เราร่วมประเพณีปล่อยโคมกะลากันบนแพ ซึ่งก็ได้ร่วมแรงร่วมใจกันทำโคมจากกะลา เมื่อถ่ายภาพจากมุมสูงเห็นไฟระยิบระยับสวยงาม เชื่อว่าเป็นการปล่อยทุกข์ปล่อยโศกไปกับสายน้ำ 

เช้าวันสุดท้าย เราเดินทางกันมาที่ หมู่บ้านพัฒนาผัง 2 ต.แม่น้ำคู้ อ.ปลวกแดง จ.ระยอง เยี่ยมชมสินค้า OTOP ของดีชุมชน และชมการสาธิตการทำ 

จากนั่นก็เยี่ยมชม ไร่ไพรวัลย์ และนั่งแพชมคลองควายขุดบ่อกันเพื่อดูธรรมชาติรอบๆ ไร่นั่นเอง 

เดินทางมากราบไหว้บูชา วัดดอกกราย 

เดินทางมายังหมูบ้านสุดท้ายในทริปนี้แล้ว นั่นก็คือ หมู่บ้านชากมันเทศ ต.แม่น้ำคู้ อ.ปลวกแดง จ.ระยอง มาชมสวนเมล่อนที่ พิณกรีนฟาร์ม ซึ่งเป็นฟาร์มเมล่อนทุกสายพันธุ์ แต่ที่หลักๆ คือสายพันธุ์จากประเทศญี่ปุ่น และ เมล่อนพันธุ์ระยองทองคำ เป็นพันธุ์ที่กำลังนิยมเป็นอย่างมากทั้งนักท่องเที่ยวและชาวบ้านที่อยู่ที่นี่ เป็นเมล่อนพันธุ์สีเหลืองกรอบ มีความหวานหอมกรอบอร่อย และมีเมนูเด็ดคือ ส้มตำเมล่อน นั่นเอง 


ทานอาหารกลางวันพื้นถิ่นของ หมู่บ้านชากมันเทศ คือ น้ำพริกต่างๆ เช่น น้ำพริกปลาทู น้ำพริกกะปิ และยังมีปลาทูต้มเค็มหวาน ใช้ปลาทูอวนลอยตัวใหญ่ มาผสมกับสมุนไพรไทย ทั้งตะไคร้ ข่า น้ำตาลอ้อย พริกไทย รากผักชีต้มให้เข้ากัน มีสัปปะรดและพริกแห้งโรยด้านบน ใช้เวลาเคี่ยม 15 ชั่วโมงก็สามารถรับประทานได้   

  เมล่อนหลักๆ คือ สายพันธุ์จากประเทศญี่ปุ่น และ เมล่อนพันธุ์ระยองทองคำ เป็นพันธุ์ที่กำลังนิยมเป็นอย่างมากทั้งนักท่องเที่ยวและชาวบ้านที่อยู่ที่นี่ เป็นเมล่อนพันธุ์สีเหลืองกรอบ มีความหวานหอมกรอบอร่อย 

บทความอื่นๆ

OTHER BLOG